ครั้งที่ 3 วันที่ 24 มกราคม 2561
วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง ทฤษฎีพัฒนากับเด็กปฐมวัย ซึ่งอาจารย์ได้ยกนักทฤษฎีมา 5 คน คือ
- ฟรอยด์ ⇛ ทฤษฎีพัฒนาการของแต่ล่ะขั้นของเด็ก
- อีริคสัน ⇛ ทฤษฎีพัฒนาการด้านสังคม
- กีเซล ⇛ ทฤษฎีวุฒิภาวะ
- เพียเจต์ ⇛ทฤษฎีพัฒนาการด้านความรู้เด็ก
- โคลเปอร์ ⇛ ทฤษฎีด้านจริยธรรม
ซิกมันต์ ฟรอยด์
พัฒนาการบุคลิกภาพของคนขึ้นอยู่กับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานทางด้านสรีระที่เราเรียกว่า แรงขับโดยสัญชาติญาณ มี 3 ประเภท
- แรงขับทางเพศ
- แรงขับที่จะมีชีวิตอยู่
- แรงขับที่จะแสดงความก้าวร้าว
โครงสร้างบุคลิกภาพ
- อิด (Id) พลังหรือแรงผลักเป็นสันดารดิบของมนุษย์ มีความต้องการอย่างเดียว
- อีโก้ (Ego) มีการคิด มีีการวางแผน
- ซูเปอร์อีโก้ (Superego) ควบคุมหรือปรับสภาพการแสดงออกของอิด และอีโก้ ให้สอดคล้องกับเหตุผล ความถูกผิด คุณธรรม จริยธรรม
ขั้นตอนพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ
ขั้นที่ 1 ⇨ ขั้นปาก เด็กจะเรียนรู้จาการหยิบของเข้าปาก
ขั้นที่ 2 ⇨ ขั้นทวารหนัก เด็กมีความสุขกับการขับถ่าย
ขั้นที่ 3 ⇨ อวัยวะเพศขั้นต้น เด็กจะสนใจ และเล่นอวัยวะเพศของตนเอง
ขั้นที่ 4 ⇨ ขั้นแฝง สนใจเพศตรงข้าม เริ่มมีความรู้สึกชอบ และรัก แต่ไม่แสดงออก
ขั้นที่ 5 ⇨ ขั้นอวัยวะเพศ พร้อมที่จะมีเพศสัมพันธ์ แต่ไม่แสดงออก
อีริคสัน
เด็กพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว ถ้าสิ่งแวดล้อมดี เด็กก็จะดี ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดี เด็กก็จะมองโลกในแง่ร้าย
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของอีริคสัน
ขั้นที่ 1 ⇒ ความรู้สึกไว้วางใจกับความไม่ไว้วางใจ ช่วงแรกเกิด-1ปี
ขั้นที่ 2 ⇒ ความรู้สึกเป็นตัวของตัวเอง กับความละอายใจ ช่วง 1-2 ปี
ขั้นที่ 3 ⇒ การมีความคิดริเริ่ม กับความรู้สึกผิดช่วง 3-6 ปี
กีเซล
วุฒิภาวะเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างมีระเบียบ
โดยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสิ่งเร้าภายนอกพฤติกรรมของเด็กจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา
ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมขึ้น การฝึกฝนหรือการเรียนรู้ จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ถ้าหากร่างกายยังไม่พร้อมหรือยังไม่มีวุฒิภาวะ
ขั้นพัฒนาการตามทฤษฎีของกีเซล
1. ทิศทางของการพัฒนาการ
2. พัฒนาการมีความสัมพันธ์กันและเกี่ยวเนื่องกัน
3. พัฒนาการมีการใช้กิจกรรมร่วมกัน
4. การพัฒนาต่าง ๆ เป็นผลมาจากวุฒิภาวะ
เพียเจต์
บุคคลสามารถคิด
ดัดแปลงความคิดและแสดงความคิดของตนออกมาได้ ย่อมเป็นผลมาจากขบวนการปรับเข้าสู่โครงสร้าง และการจัดปรับขยายโครงสร้าง โดยผลของการทำงานดังกล่าวจะเกิดเป็นโครงสร้างขึ้น
ทฤษฎีพัฒนาการด้านการรู้ของเพียเจต์
ขั้นที่ 1
ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว อายุแรกเกิด
– 2 ปี
ขั้นที่ 2 ขั้นก่อนการคิดอย่างมีเหตุผล อายุ
2 – 7 ปี แบ่งเป็นสองระยะ
-
ระยะที่
1 ขั้นก่อนความคิดรวบยอด อายุ 2 – 4 ปี
-
ระยะที่
2 ขั้นคิดได้เองโดยไม่รู้เหตุผล อายุ 4 – 7 ปี
โคลเบิร์ก
พัฒนาการทางการคิดเป็นพื้นฐานของพัฒนาการทางจริยธรรม ซึ่งพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลจะมีลำ
ดับขั้นเช่นเดียวกับพัฒนาการด้านอื่น ๆ และมีแนวคิดว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของแต่ละบุคคล
จะแตกต่างกันและมีระยะเวลาของการพัฒนาในแต่ละขั้นต่างกัน
ขั้นพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
ระดับขั้นที่ 1 Premoral หรือ Preconventional วัย
2 – 10 ปี มี 2
ระยะ
ระยะที่ 1 การหลบหลีกการถูกลงโทษ
ช่วงอายุ 2 – 7 ปี
ระยะที่ 2 การแสวงหารางวัล ช่วงอายุ 7 –
10 ปี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น